กลับ

โครงการสร้างฝายกั้นน้ำ (ฝายประชารัฐ) 28 มิถุนายน 2559

นายสถาพร โพธิสาขา หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยตลาด กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กล่าวต้อนรับคณะพนักงานจิตอาสาของกลุ่มน้ำตาลบุรีรัมย์

นายสมส่วน รักสัตย์ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ดงใหญ่ กล่าวต้อนรับและให้ข้อมูลภาพรวมและข้อมูลทั่วไปของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ซึ่งมีจำนวนกว่า 2 แสนไร่โดยเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ผืนป่าดงพญาเย็น มรดกโลกทางธรรมชาติ 1 ใน 2 แห่งของประเทศไทย

โครงการสร้างฝายประชารัฐเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติ 70 ปี และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิจ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ อ.โนนดินแดง จ.บุรีรัมย์ สืบเนื่องจากปัญหาอุทกภัยในช่วงหน้าฝน และปัญหาภัยแล้ง การขาดแคลนน้ำในหน้าแล้ง สภาวะโลกร้อน ทำความเสียหายแก่ชีวิต ทรัพย์สิน พืชผลทางการเกษตรเป็นอย่างมาก กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำโครงการสร้างฝายประชารัฐ เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ประจำปี 2559 ขึ้น เพื่อสนองตอบนโยบายของรัฐบาล โดยมีเป้าหมายสร้างฝายประชารัฐ หรือฝายชะลอน้ำแบบผสมผสาน ในพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่เสื่อมสภาพ ในพื้นที่ลุ่มน้ำ ที่อยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธ์พืช ประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า โดยเริ่มดำเนินการตั่งแต่เดือนมิถุนายน ถึงธันวาคม 2559 เพื่อเป็นการอนุรักษ์ดินและน้ำ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ โดยให้ฝายเก็บกักน้ำ ชะลอการไหลของน้ำ ลดการชะลางการพังทลายของดิน ยืดอายุการไหลของน้ำ เกิดความชุมชื้นในบริเวณโดยรอบ ลดปัญหาการเกิดไฟป่า ดักตะกอนทำให้น้ำใสสะอาด ชุมชนในพื้นที่ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำ ในด้านการอุปโภคบริโภค การเกษตรและการเลี้ยงสัตว์

การบริหารจัดการน้ำว่า เป็นปัจจัยสำคัญในการทำเกษตรกรรม ดังนั้นการทำงานจึงต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายแบบบูรณาการระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ซึ่งมีความสำคัญมากที่สุด ในการร่วมกันดูแลและเตรียมความพร้อมในสถานการณ์ภัยแล้ง เช่น การสร้างฝาย “ฝายชาวบ้าน ฝายประชารัฐ” เพื่อเตรียมรับน้ำฝนในช่วงฤดูฝน และเพื่อชะลอความแรงของน้ำให้สามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ โดยให้ 3 กระทรวงที่เกี่ยวข้องช่วยกันดูแลจัดหาอุปกรณ์และดำเนินการจัดทำฝาย โดยมีประชาชนในชุมชนเป็นกำลังหลัก และให้บูรณาการทำงานเพื่อประโยชน์สูงสุดของประชาชน